พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทEร่วมสมัE ***

สวัสดีครับบบบบบ 😛

      พบกับผมอีกครั้งกับเรื่องใหม่… สำหรับวันนี้ผมอาจพาไปไกลหน่อยนิดนึงครับ วันนี้ผมจะพาไปชมพิพิธภัณฑ์ที่คล้ายๆกับหอศิลป์(หรืออาจจะใช่ก็ไม่ทราบ) นั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ(THAI CONTEMPORARY ART MUSEUM)ไทยร่วมสมัย ตั้งอยู่ ณ อาคารเบญจจินดาถนนโลคัลเลียบขนานทางรถไฟและถนนวิภาวดี ตรงสี่แยกบางเขนฝั่งซ้ายมือ เป็นพิพิธภัณฑ์แบบปิด คือยังไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปชม แต่จะเปิดให้ชมเฉพาะเป็นหมู่คณะ ได้พิพิธภัณฑ์เป็นความคิดริเริ่มของ คุณบุญชัย เบญจรงคกุล ที่มีความชื่นชอบและคิดที่จะรวบรวมศิลปะไทยร่วมสมัยในยุคต่างๆและรวบรวมผลงานของศิลปินหลายท่าน แต่ตามจิงผมไม่ได้ตั้งใจไปหรอกคับ พอดีว่าเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2553 อาจารย์ได้พาผม เพื่อนและรุ่นพี่ ไปแข่งศิลปะที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่เผอิญยังไม่ถึงเวลาแข่งอาจารย์ก็เลยพาไปชม เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการวาดภาพส่วนแรกที่ผมได้ชมเป็นห้องจำลองเรือในพระราชพิธีกระบวนเรือพยุหยาตรา ทางชลมารค (แต่ผมไม่ได้เก็บภาพมาฝากนะคับ!!!) ส่วนต่อมาเป็นห้องแสดงผลงานทางศิลปะของท่านอาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี ที่มี 2 ส่วนด้วยกันคับ แนวการสร้างผลงานของท่านอาจารย์ ถวัลย์ดัชนีเป็นแนว ร้อนแรงและเคร่งขรึม หรือเรียกว่า”นรก”ก็ว่าได้คับ เพราะโทนสีที่ใช่ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง ดำ ขาว ทอง ให้ความรู้สึกหดหู่ น่ากลัวน่าเกรงขาม โดยแต่ละส่วนจะแบ่งเป็นการวาดแบบลายเส้น(Drawing) และภาพสีน้ำมัน ภาพแต่ละภาพถึงจะดูน่ากลัวแต่ก็มีความงดงามแฝงอยู่ในความน่ากลัวนั้นคับเพราะไม่ว่าจะเป็นการใช้ลายเส้นและแสงเงาที่ทำให้ภาพดูมีมิติ มีชีวิต และการใช้การปิดทองคำเปลวแทนการใช้สีทองล้วนแล้วเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของงานศิลปะไทย(แต่ผมไม่สามารถเก็บภาพได้คับเพราะเค้าห้ามถ่ายรูปในส่วนนี้ – – *และผมก็พึ่งทราบว่าการเก็บรักษาภาพศิลปะต้องควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมด้วยคับ) ส่วนที่สองที่ผมได้ชมก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าส่วนอะไรคับ น่าจะเรียกว่า งานประติมากรรมลอยตัว เพราะเป็นการนำวัสดุธรรมชาติมาแกะสลักและปั้นให้เป็นผลงานทางศิลปะ เช่น การใช้ไม้มาสร้างเป็นบ้านเรือนไทยจำลอง และการนำดินมาปั้นเป็นคน ต้นไม้ และสิ่งต่างๆ ได้อย่างงดงาม เพราะจากไม้และดินที่ดูแข็งกระด้างไม่มีชีวิตนำมาทำเป็นผลงานศิลปะให้ดูมีชีวิตชีวาและอ่อนช้อยงดงาม เป็นเรื่องที่ยากมาก  สิ่งที่ปั้นก็แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย (เหมือนจิงมากกกกกกกกก) ถัดมาก็เป็นประติมากรรมเทพเจ้าที่คนไทยและคนอินเดียนับถือ เช่น พระพิฆเนศร์ พระศิวะ ฯลฯ และถัดไปก็เป็น ประติมากรรมที่เรียกว่าเป็น ปฏิมากรรมก็ว่าได้เพราะล้วนแล้วแต่เป็นการปั้นรูปเรื่องราวและตัวละครในวรรณคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรคดีไทยที่คนไทยรู้จักกันดี รูปปั้นแต่ละตัวก็จะจัดแสดงไว้ในตู้กระจำ มีทั้งที่เป็นตัวละครเดี่ยว และมีทั้งที่เป็นเรื่องราวโดยเฉพาะการสู้รบทำยุทธหัตถี ระหว่างฝ่ายยักษ์กับฝ่ายพระ เป็นปฏิมากรรมไทยที่สวยงามมากกกกกกกกกกกกกกกกคับ ผมคิดว่าทุกคนคงจะเมื่อยกันแร้ว(ผมก็เมื่อยคับ – -” ) ก็ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับแล้วจะพาทัวร์กันต่อให้ตอนหน้า บายคับ 😛